โลกกำลังเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ความร้อนที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นตามมา, น้ำท่วมและภัยแล้งเกิดบ่อยขึ้น และระบบนิเวศวิทยาเปลี่ยนแปลงอย่างมากซึ่งก็กลายเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงชีวิต คำถามสำหรับเวลานี้คือ เราจะทำอะไรได้บ้าง? เราจะติดตามตรวจสุขภาพของทั้งโลกได้อย่างไร? เราจะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร ? เฉกเช่นเดียวกันกับคนไข้ที่เจ็บป่วยทรมาน เราก็จะเริ่มจากสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน สังเกตดูว่าเป็นอย่างไร มีอาการอะไรบ้าง อุณหภูมิร่างกายเท่าไหร่ ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างไรก็ตามโลกของเราซับซ้อนกว่านั้นมาก และยังมีหนทางในการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่จะตรวจวัดสภาวะการณ์ได้แม่นยำมากกว่า กว่า 50 ปี นับตั้งแต่ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเกิดขึ้นมา มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากการอยู่จุดที่สูงในอวกาศเพื่อเข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นบนโลกของเรา จากดาวเทียมที่โคจรรอบโลกและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้มองเห็นภาพใหญ่ รวบรวมข้อมูลที่แตกต่างกันหลายประเภทเกี่ยวกับโลกของเราและสภาพภูมิอากาศระดับโลก เนื้อหาข้อมูลนี้เก็บรวบรวมมาเป็นเวลาหลายปี และมีศักยภาพที่จะไขสู่หนทางแก้ไขเพื่อให้อยู่รอดได้ดีกว่าเมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
โครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นความร่วมมือพิเศษระหว่างองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ(NASA) ที่ได้นำเทคโนโลยีอวกาศและข้อมูลเปิดมาใช้เพื่อช่วยแสดงถึงปัญหาที่พัฒนาไปโดยสัมพันธ์กับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลเชิงพื้นที่ในช่วงระยะเวลาห้าปี (พ.ศ.2557 – 2562) ใช้ในการพัฒนาโครงการ โครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดำเนินการโดยความร่วมมือจากองค์กรระดับภูมิภาคชั้นนำ ช่วยให้ห้าประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงใช้ข้อมูลที่ได้รับมาจากดาวเทียมสังเกตการณ์โลกและเทคโนโลยีเชิงพื้นที่มาจัดการความเสี่ยงทางภูมิอากาศ ประเทศในภูมิภาคประกอบด้วย กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมาร์ (พม่า), ไทย และเวียดนาม
กิจกรรมของโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกออกแบบเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
- สร้างและก่อให้เกิดขีดความสามารถทางเทคนิคที่เป็นระบบ ในการที่จะช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจของรัฐบาลและกลุ่มหลักในภาคประชาสังคมได้บูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่มาประกอบในการตัดสินใจ, วางแผน และสื่อสาร
- ปรับปรุงการแบ่งปัน ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ผู้ใช้ปรับแต่งได้, ผลิตภัณฑ์ และบริการ
- พัฒนาข้อมูลที่ผู้ใช้ปรับแต่งได้ให้มีคุณภาพสูงขึ้น, เครื่องมือ, แอพพลิเคชั่น และตัวแบบให้ตรงกับการจัดลำดับความสำคัญจากพื้นที่
- ศูนย์กลางของโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเสริมความเข้มแข็งให้กับผู้ให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ระดับภูมิภาค, วิเคราะห์ และจัดบริการส่งเสริมศักยภาพ
ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (APDC) ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการเสริมความเข้มแข็งให้พร้อมรับมือกับภัยพิบัติในเอเชีย เป็นผู้ดำเนินการหลักในโครงการเซอรเวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีอีกสามองค์กรที่เป็นองค์กรร่วมดำเนินการ คือ Spatial Informatics Group (SIG), Stockholm Environment Institute (SEI) และ Deltares ช่วยในการดำเนินโครงการเซอร์เวียร์แม่โขง และนำศักยภาพที่เยี่ยมยอดมาช่วยจัดบริการให้เกิดขึ้นในภูมิภาค